ทดสอบ ACB Air Circuit Breaker

ACB (Air Circuit Breaker) หรือที่เรียกว่าแอร์เซอร์กิต เบรกเกอร์ เป็นเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในเบรกเกอร์ชนิด Low Voltage มีความแข็งแรง ทนกระแสไฟได้สูง จึงเหมาะกับการนำไปใช้เป็นเมนเบรกเกอร์สำหรับติดตั้งในตู้ MDB หรือตู้สวิทช์บอร์ด เบรกเกอร์ มีระบบทริปที่มีวัดกระแสและแรงดันไฟฟ้าได้ในตัว ออกแบบมาเพื่อป้องกันวงจรไฟฟ้าจากความเสียหายที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน โดยทั่วไปเกิดจากโหลดเกินหรือไฟฟ้าลัดวงจร การทำงานของมันคือตัดกระแสไฟฟ้าหลังจากตรวจพบความผิดปกติในวงจรไฟฟ้า ตามมาตรฐานแล้วควรทำการตรวจสอบ ACB หรือทดสอบทุกๆปีเพื่อให้มั่นใจว่ายังสามารถทำงานได้อย่างแม่นยำถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันกระแสเกินหรือลัดวงจรเช่นเดียวกับฟิวส์ แต่จะแตกต่างกันตรงที่เมื่อตัดวงจรแล้วสามารถที่จะปิดหรือต่อวงจรได้ทันทีหลังจากแก้ปัญหาแล้ว

Circuit Breaker(เบรกเกอร์) สามารถแบ่งตามขนาดเป็น 3 ประเภท

1.1 MCB : Miniature Circuit Breaker (เบรกเกอร์ลูกย่อย)
1.2 MCCB : Moulded Case Circuit Breaker(โมลเคสเซอร์กิตเบรกเกอร์)
1.3 ACB : Air Circuit Breaker(แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์)

หลักการทำงานของเบรกเกอร์ แบ่งออกเป็น 2 แบบ Thermomagnetic และ Electronic

2.1.Thermomagnetic เบรกเกอร์แบบ Thermomagnetic ใช้หลักการทำงานทางความร้อน โดยการแปลงกระแสไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน

2.1.1 เบรกเกอร์แบบ Thermomanetic มีฟังกชั่นการป้องกัน 2 แบบ
  a)  การป้องกันกระแสโหลดเกิน (Overload) หรือที่เรียกว่า Function L ใช้หลักการป้องกันแบบ Bimetal
  b)  การป้องกันกระแสลัดวงจร (Short Circuit) หรือที่เรียกว่า Function I ใช้หลักการป้องกันแบบ Electromagnetic coil

2.1.2 เบรกเกอร์แบบThermomagnetic มีให้เลือก 3 แบบ TMF, TMD และ TMA
  a)  เบรกเกอร์รุ่น TMF ไม่สามารถปรับตั้งค่ากระแสที่ใช้งานได้
  b)  เบรกเกอร์รุ่น TMD สามารถปรับตั้งค่ากระแสโหลดเกิน(Overload L)ได้ตั้งแต่ 0.7-1 เท่า
  c)  เบรกเกอร์รุ่น TMA สามารถปรัปตั้งค่าได้ทั้งกระแสโหลดเกิน(Overload L)และกระแสลัดวงจร(Short Circuit I)

2.2.Electronic เบรกเกอร์แบบ Electronic ใช้การวัดค่ากระแสใช้งานจริงด้วย CT และส่งค่าที่วัดได้ไปทำการคำนวนด้วยระบบ Microcontroller

2.2.1 เบรกเกอร์แบบ Electronic มีฟังกชั่นการป้องกันให้เลือกทั้งหมด 4 แบบ
  a)  ฟังก์ชัน L การป้องกันกระแสโลดเกิน Overload
  b)  ฟังก์ชัน S การป้องกันกระแสลัดวงจรแบบหน่วงเวลา Short circuit with delay time
  c)  ฟังก์ชัน I การป้องกันกระแสลัดวงจรแบบทันทีทันใด Instantaneous Trip
  d)  ฟังก์ชัน G ground fault

ตรวจสอบระบบไฟฟ้า กับ SAFESIRI

ผู้นำทางด้านการตรวจสอบระบบไฟฟ้า อันดับหนึ่ง

ตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปี เป็นสิ่งที่สถานประกอบกิจการต้องปฏิบัติตามกฎหมายกรม ตรวจสอบระบบไฟฟ้าตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และ กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 2550 (กรมอุตสาหกรรม) การบริการตรวจสอบระบบไฟฟ้าเรามีวิศวกรไฟฟ้าที่มี กว. คุณสมบัติถูกต้อง และยังได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ประเภทนิติบุคคล เลขที่ใบอนุญาต นต.1702 และ รวมถึงมีมาตรฐานด้านระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 การประกันคุณภาพ มั่นใจได้ว่ากระบวนการต่าง ๆ และหลักสูตรอบรม คปอ. ของเรานั้นมีมาตรฐาน ได้รับการควบคุม และสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนหากคุณกำลังมองหาบริการด้านระบบไฟฟ้าที่หลากหลาย เช่น ตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปี การบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า PM ระบบไฟฟ้า ตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ให้กับสถานประกอบกิจการของคุณได้รับการตรวจสอบระบบไฟฟ้ากับทีมงานมืออาชีพติดต่อทีมงานของเราได้ผ่านการกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ หรือสามารถติดต่อสอบถามแอดมินได้ผ่านทางระบบ LINE Official Account ของเรา : https://lin.ee/5JEDykZ